วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน


  แบบวงแหวน (Ring Network)   เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็นวงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงานของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้แอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่า
ต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งข้อมูลที่ส่งจะผ่านๆทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานนี้ใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้
เครือข่ายแบบนี้มักใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์


    ข้อดี
1. สามารถควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะระบบวงแหวนเป็นวงปิดเหมาะกับการใช้สื่อเป็นเส้นใยแก้วนำแสง
2. สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลายๆสถานีพร้อมกัน
3. ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
4. ไม่เปลืองสายสื่อสาร

    ข้อเสีย
1. หากเกิดขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะต้องตรวจสอบไปทีละสถานี
3. เวลาจะส่งข้อมูลจะต้องให้สายข้อมูลนั้นว่างเสียก่อนจึงจะส่งออกไปได้
4. ติดตั้งยากกว่าแบบบัสและใช้สายสื่อสารมากกว่า

จานดาวเทียม




จานดาวเทียม หรือจานรับสัญญาณดาวเทียมหมายถึง สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับการรับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ลอยอยู่ในอวกาศและส่งสัญญาณกลับลงมายังพื้นโลก โดยทั่วไปมักมีรูปทรงเป็นรูปจานโค้งแบบพาราโบลา เพื่อให้เกิดการรวมและสะท้อนสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นผิวสำหรับของจานรับสัญญาณสามารถเป็นได้ทั้งพื้นผิวแบบทึบ และพื้นผิวแบบโปร่ง ซึ่งพื้นผิวแบบทึบลมจะไม่สามารถผ่านได้จึงต้านลมมากกว่าแบบโปร่ง
ขนาดของจานรับสัญญาญดาวเทียมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองประการ
  1. ขนาดของสัญญาณที่รับมาจากดาวเทียม
  2. ขนาดของสัญญาณรบกวน
ถ้าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณจากดาวเทียมกับสัญญาณรบกวนมีค่ามากเท่าใด ขนาดของจานก็จะเล็กมากเท่านั้น สัญญาณรบกวนมีที่มาได้ 3 ทางหลัก ๆ คือ
  1. สัญญาณจากฟากฟ้า
  2. สัญญาณจากพื้นโลกที่มาจากธรรมชาติ
  3. สัญญาณจากพื้นโลกที่มิใช่จากธรรมชาติ (เกิดจากมนุษย์)
โดยปกติแล้วกำลังสัญญาณจากดาวเทียมจะมีค่าต่ำมาก จึงต้องได้รับการขยายสัญญาณจากอุปกรณ์ที่เรียกว่า แอลเอ็นบี (LNB)

ระบบจานรับสัญญาณดาวเทียม (ข้อมูลเบื้องต้นประวัติจานดาวเทียม จานดาวเทียม)[แก้]

จานดาวเทียมแบบฟิกซ์ (รับดาวเทียมดวงเดียว)[แก้]

  • จานดาวเทียมระบบ KU-Band
  • จานดาวเทียมระบบ C-Band
  • จานดาวเทียมระบบ C/KU-Band

จานดาวเทียมแบบมูฟ (รับดาวเทียมได้หลายดวง)[แก้]

  • จานดาวเทียมแบบมูฟ ระบบ C-Band
  • จานดาวเทียมแบบมูฟ ระบบ C/KU-Band

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

RESUME


ประวัติส่วนตัว (RESUME)
ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย) นาย วุฒิไกร ฆังคะมะโน
ชื่อ-นามสกุล (อังกฤษ) Wuttigrai Kangkamano
ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 144 ต.ควนโส อ.ควนเนียง จ.สงขลา 9022
ที่อยู่ปัจจุบัน (หอพัก/บ้านพัก) 295/5 ต.กาแพงเพรช อ.รัตภูมิ จ. สงขลา

รายละเอียดส่วนตัว
สัญชาติ : ไทย
เชื้อชาติ : ไทย
ศาสนา : พุทธ
วัน/เดือน/ปีเกิด :04/02/2535
สถานที่เกิด :โรงพยาบาล ควนเนียง
เพศ : ชาย
อายุ : 21 ปี
น้าหนัก : 60 กิโลกรัม
ส่วนสูง : 173 เซนติเมตร
สถานภาพทางการทหาร : ผ่อนผัน
เบอร์โทรศัพท์ : 088-7845306
อีเมล์ : wuttigrai.ct2554@gmail.com
สาขาวิชาที่เรียน : คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
ประวัติการศึกษา (เริ่มจากระดับสูงสุดก่อน) ลำดับที่ สถาบันการศึกษา วุฒิการศึกษา/สาขาที่จบ ปีการศึกษาที่จบ เกรดเฉลี่ย
1.
มทร.ศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ
ปวส เทคนิคคอม
2556
02.66
2.
โรงรียนหาดใหญ่เทคโนโลยี
ปวช อิเล็กทรอนิกส์
2554
02.63
3.
โรงเรียนปากจ่าวิทยา
มัธยม
2551
4.
โรงเรียนบ้านควนโส
ประถม
2548
-
ประสบการณ์การทางาน/ฝึกงาน/อบรม/ผลงานทางวิชาการ
1.อบรมการซ่อมบารุงคอมพิวเตอร์
2. ฝึกงานร้านดอกเตอร์คอม
3. ฝึกงานร้าน เทคนิค วิทยุ โทรทัศน์

อาชีพในฝันหลังจบการศึกษา
เปิดร้าน ขาย ซ่อม บารุงคอมพิวเตอร์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย




สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม
1 อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชด  อ.ปาล์ม
2 นาย พิทยา เฉกจ่าย      แพน
3 นาย สุรศักดิ์ มุณีรัตน์   ตาล
4 นายวัชรา ดาวราย        แอม
5 นาย นิธิพงศ์ พงศ์วงประเสริฐ  นิว
นางสาวพัชรี เมืองสง  จุ๊บแจง
น.ส.อาทิตยา จันทรมณี 565703031 ฝน
น.ส.สิริพร ชูสิงแค  565703025 แอล
นาย จักรกฤษณ์ นวนแก้ว โอ
10 นาย กิตติกาญจน์ คชกาญจน์ : กาญจน์
11 นาย ธีระพงศ์ คงโต เอ
12 นายกันตภณ วิทยพันธ์ : คิง
13 น.ส. สุภาวดี ทองศรีสุข ฟิร์ม
14 นาย รัชชานนท์ มณีสุข  ระ
15 นาย จามร กาญจนมุณีย์  มอน
16 นาย ปฐมฤกษ์ ติ้งหมวก จ๊อส
17 นาย ธนภัทร พูนพานิช โสบ
18 น.ส. เนตรชนก สะมะบุบ นก
19 น.ส. ปิยะวรรณ กิจการ กิ่ง
20 นาย ศุชัยยุทธ์ ซอยตะคุ บ่าว
21 นางสาว วิชุดา หนูแข็ง แอน
22 นาย รุสดีน หมะหละ ดีน
23 นาย วิรัช บิลอะหลี โต
24 นาย อภิลักษณ์ มีชัย นิว
25 นาย ธีรวุฒิ แสงทอง เบล
26 นางสาว กาญจนา สมพร ละมุด
27 น.ส.ศิริขวัญ ชาญณรงค์ แอน
28 นาย กิตติศักดิฺ ปลื้มใจ  เกมส์ 
29 นาย ณัฐพงศ์ เย็นใจ แม็ค
30 น.ส.อัญชลี แสงอรุณ โฟม

ไอทีกรีนเทคโนโลยีช่วยลดปัญหาโลกร้อน





หากได้อ่านข่าวเล็กๆ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 12 ก.ย.2550 ที่หัวข่าวระบุว่า “เหตุจากทะเลน้ำแข็งลดลง หวั่นหมีขั้วโลกจะตาย เป็นเบือ” รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) คาดว่าช่วงระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษหน้านั้น หมีขั้วโลกจะหายไปจากชายฝั่งทางตอนเหนือของอลาสกา และรัสเซีย และสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัยแถบขั้วโลกเหนือไปถึง 42% โดยบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่จำเป็นแก่การอยู่อาศัยในฤดูร้อนในบริเวณ “โพลาร์ เบซิล” ที่หมีขั้วโลกจะใช้เป็นที่ออกล่าหาอาหารและเพาะพันธุ์ ทั้งยังคาดประมาณว่าหมีขั้วโลกจะมีชีวิตอยู่ได้แค่อีก 30 ปี
รายงานดังกล่าวแจ้งว่า “ความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตกับน้ำแข็งในทะเลนั้น จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียประชากรหมีขั้วโลกราว 2 ใน 3 ของประชากรหมีขั้วโลกในขณะนี้ ในราวกลางศตวรรษที่ 21” แล้วข่าวนี้เกี่ยวอะไรกับวงการไอที คำตอบก็ คือ “เกี่ยวกันแน่นอน” จากข่าวที่ยกมานั้นเป็นผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) หากท่านผู้อ่านเคยชมภาพยนตร์ “An Inconvenient Truth”ของนายอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแล้ว ส่วนหนึ่งได้เล่าไว้ถึงเรื่องหมีขั้วโลกที่จะต้องตาย เพราะว่ายน้ำเพื่อหาแผ่นน้ำแข็งในระยะทางที่ไกลจนเหนื่อยแล้วจมน้ำ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมมีการใช้พลังงานที่สูง หากมีการใช้งานจำนวนมากๆ ก็ย่อมกินพลังงาน และปล่อยความร้อนออกมาก โดยเฉพาะตามดาต้า เซ็นเตอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์ฟาร์มของบริษัทใหญ่ๆ ที่ปริมาณความร้อนสูงก็ย้อมต้องใช้เครื่องปรับอากาศจำนวนมาก เพื่อทำให้ระบบเย็นลง กลายเป็นการใช้ไฟฟ้าจำนานมาก และการผลิตไฟฟ้าก็ต้องใช้พลังงานเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นเหตุของปัญหาโลกร้อน ทั้งนี้ตัวหมีขั้วโลกนี่เองที่ทาง บริษัท ไอบีเอ็ม ยักษ์สีฟ้าของวงการไอทีนำเอามาเป็น สัญลักษณ์ของการรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน
หนึ่งในแผนการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ทางบริษัท ไอบีเอ็ม ได้ประกาศออกมา และดำเนินการแล้ว คือ การผนวกรวมคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ราว 3,900 เครื่องไว้บนเมนเฟรม ตระกูล System z ราว 30 เครื่อง ที่รันระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ตามโครงการปรับเปลี่ยนดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก โดยไอบีเอ็มคาดการณ์ว่าสภาพแวดล้อมเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่นี้ จะใช้พลังงานน้อยกว่าระบบที่มีอยู่ประมาณ 80% และคาดว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซอฟต์แวร์ และการสนับสนุนระบบได้อย่างมากในช่วงเวลา 5 ปี ขณะเดียวกันการปรับเปลี่ยนดังกล่าว จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีของไอบีเอ็มมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งสามารถรองรับสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจากบริษัท ไอบีเอ็ม ระบุว่า โครงการปรับเปลี่ยนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Project Big Green ที่ได้เปิดตัวเมื่อเดือน พ.ค.2550 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ของไอบีเอ็มและลูกค้า ด้วยพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์กว่า 8,000,000 ตารางฟุต (เท่ากับสนามอเมริกันฟุตบอล 139 สนาม) ไอบีเอ็มต้องบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด และซับซ้อนที่สุดในโลก โดยดาต้าเซ็นเตอร์หลักๆ อยู่ในนิวยอร์ก คอนเนคติกัต โคโลราโด สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
ไอบีเอ็มคาดว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่ที่ครอบคลุมทั่วโลกนี้จะรองรับผู้ใช้ได้กว่า 350,000 ราย และจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับความพยายามอย่างต่อเนื่องของไอบีเอ็มในการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ก้าวล้ำสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1997 เป็นต้นมา ไอบีเอ็มได้ผนวกรวมดาต้าเซ็นเตอร์สำคัญๆ ทั่วโลกจาก 155 แห่ง จนเหลือเพียง 7 แห่ง
ข้อมูลจากบริษัท ไอบีเอ็ม ระบุอีกว่า โครงการผนวกรวมนี้จะใช้ประโยชน์จากความสามารถของเมนเฟรมหนึ่งเครื่อง ในการทำงานได้เหมือนกับเซิร์ฟเวอร์หลายร้อยหรือหลายพันเครื่อง ด้วยการทำ เวอร์ช่วลไลเซชั่น (Virtualization) เป็นเทคโนโลยีที่ไอบีเอ็มนำมาใช้เป็นครั้งแรก บนเครื่องเมนเฟรมเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว โดยทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรระบบของเมนเฟรม เช่น ส่วนประมวลผล ระบบเครือข่าย สตอเรจ และหน่วยความจำ ให้แก่เซิร์ฟเวอร์แบบ “เสมือนจริง” (Virtual) หลายๆ เครื่อง เซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงแต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบกายภาพ ระบบที่ถูกโยกย้ายจะใช้เพียงแค่ส่วนเล็กๆ ของเมนเฟรมแต่ละเครื่อง อันจะทำให้เหลือพื้นที่ว่างจำนวนมาก สำหรับการขยายตัวในอนาคต
ขณะที่ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ที่เพิ่งฉลองครบรอบ 25 ปี ก็ได้ประกาศแผนการลดการใช้พลังงาน และการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะจากการคาดการณ์ของ บริษัท ไอดีซี ระบุว่า ในปี ค.ศ.2010-2015 ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ จะมีค่าใช้จ่ายพลังงานมากในสัดส่วนที่มากกว่าค่าอุปกรณ์ เนื่องจากราคาของอุปกรณ์รุ่นใหม่มีราคาถูกลง ขณะที่อุปกรณ์รุ่นเก่าทั้งเซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจยิ่งเก่าก็ยิ่งกินไฟ เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วัน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวที่ทำให้ซันต้องออกมามองเรื่องความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น
นายสุธรรม ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาและการขายผ่านพันธมิตร บ.ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทสไทย) จำกัด อธิบายว่า จากรายงานของ บริษัท การ์ทเนอร์ ระบุว่า ในปี 2551 การลงทุนของดาต้าเซ็นเตอร์จะเป็นส่วนของพลังงาน และระบบทำความเย็นมากถึง 50% ตามความต้องการใช้งานอุปกรณ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ค่าไฟฟ้าก็จะเป็นสัดส่วนที่ 10% ของงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด โดยสิ่งที่จูงใจให้ลูกค้าองค์หันมาใช้พลังประมวลผลที่คุ้มค่า คือ การลดค่าใช้จ่าย แต่งานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดความเสียงจากกฎระเบียบควบคุมของภาครัฐ และลดความต้องการใช้งานในภาวะที่ทรัพยากรระบบมีจำกัด ทั้งหมดนี้นำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการใช้งานเชื้อเพลิงจากไฮโดรคาร์บอน
ผอ.ฝ่ายการพัฒนาและการขายฯ บ.ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อธิบายต่อว่า เป้าหมายของซันในโครงการรับผิอดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสร้างสำนักงานที่เป็น Eco-Computing ซันจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกซืด อีก 30,000 ตันหรือลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงอีก 20% ภายในปี ค.ศ.2012 จากปี 2551 พร้อมทั้งก้าวเป็นผู้นำในนวัตกรรมประหยัดพลังงาน ทั้งการใช้เทคดนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น บนเทคโนโลยีจาวา และโซลาริส เพื่อลดปริมาณการใช้เครื่องลง
นายสุธรรม อธิบายเพิ่มเติมว่า การออกแบบโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ และยังนำเอาซีพียูแยบบดูอัลคอร์มาใช้ ทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์กินไฟลดลงทั้งโพรเซสเซอร์ UltraSparc ของซันเอง หรือของผู้ผลิตรายอื่น เช่น อินเทล และเอเอ็มดี ในส่วนของการจัดเก็บข้อมูลบนสตอเรจ ก็มีการนำเอาเทคโนโลยีมาบริหารข้อมูลที่จัดเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสุดท้าย คือ การที่ซัน นำเอาบริการเพื่อสังคมผ่านเว็บไซต์ www.network.comที่เป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ให้ดาต้า เซ็นเตอร์ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้ง สาธารณะ ในการใช้ประมวลผลงานวิจัย ที่ซันจะเป็นผู้สนับสนุนให้ก่อนในเรื่องนี้
ส่วนอีกหนึ่งยักษ์ที่ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาสม่ำเสมออย่าง บริษัท ฮิวเลตต์ –แพคการ์ด หรือเอชพี ก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในแนวคิด กรีนสตอเรจขึ้นมาเช่นกัน นายจิม แวกสตาฟ รองประธานหน่วยธุรกิจ StorageWorks Division ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิคและญี่ปุ่น อธิบายว่า หากดูจากข้อมูลที่เอชพีได้มาจะพบว่า ขณะนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 5 เท่าตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นการเพิ่มตามกฎของมัวร์ การที่ค่าใช้จ่ายพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นงบประมาณก้อนใหญ่ แต่งบประมาณนี้ถูกใช้ไปเพื่อทำความเย็นให้กับดาต้าเซ็นเตอร์มากกว่า การใช้เพื่อซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาทำงานถึง 60-70% ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลคิดเป็นแค่ 13% ของค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ข้อมูลจากบริษัท วิเคราะห์ StorageIO Group พบว่า ปัจจุบันสตอเรจเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานถึง 37-40% จากพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ด้วยผลิตภัณฑ์สตอเรจตัวใหม่จากเอชพี ลูกค้าที่ต้องจ่ายค่าไฟสำหรับสตอเรจ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือนจะสามารถประหยัดไฟที่ใช้เป็นพลังงานและใช้ในระบบระบายความร้อนได้มากถึง 18,000 เหรียญสหรัฐต่อปี
รองประธานหน่วยธุรกิจ StorageWorks Division เอชพี อธิบายเสริมว่า เพื่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีที่ประหยัดพลังงาน เอชพีช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดการกับระบบ และการบริการได้อย่างรอบด้าน วิธีการอันหลายหลายของเอชพี ที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ เพิ่มความหนาแน่นของระบบจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น ล่าสุดเอชพีจึงมีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ตามแนวคิดกรีนสตอเรจที่ใช้นวัตกรรม Enterprise Virtual Arry: EVA มาช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการทำความเย็นลดถึง 50% เพื่อให้ ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น 24% และลดความเสี่ยงจากความล้มเหลวของระบบ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้ต้องการจะกระตุ้นให้องค์กรต่างๆ หันมาซื้ออุปกรณ์ หรือลงทุนปรับปรุงศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ ให้เป็นของใหม่รุ่นล่าสุดแต่อย่างใด เพียงแต่อยากให้เห็นถึงประโยชน์จากการทำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ และผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะเกิดขึ้น รวมถึงสะท้อนแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ทุกองค์กรจะต้องจ่ายในอนาคต
โดยหากยังปล่อยให้ปัญหาความร้อนและการใช้พลังงานสิ้นเปลื้องอยู่ต่อไป ก็ย่อมจะกระทบต่อการใช้ไฟฟ้า ที่ต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิต และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นตาม ปัญหาโลกร้อนก็จะไม่ได้รับการเยียวยา ปล่อยให้โลกร้อนต่อไป ก็ลองคิดดูว่าถ้าหมีขั้วโลกยังจมน้ำตาย แล้วมนุษย์คนเดินดินธรรมดาจะไปเหลืออะไร...

ปัจจุบันอีเมล์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสื่อสารทางด้านธุรกิจ และการรักษาความปลอดภัยจึงเป็นโครงสร้าง
พื้นฐานของระบบที่มีความสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ขณะที่การโจมตีระบบอีเมล์ก็ยังคงเพิ่มจำนวนมากขึ้น ดังนั้น อีเมล์ขององค์กร
จึงตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อภัยคุกคามของข้อความทั้งภายใน และภายนอก ได้แก่ สแปมเมล์ ฟิชชิง ไวรัส  สปายแวร์
และมัลแวร์อื่น ๆ เช่นเดียวกับอีเมล์ขยะที่กำลังคุกคามความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบัน นอกจากนี้ภัยคุกคามดังกล่าว
ยังถูกนำมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นภัยคุกคามลูกผสมที่สามารถแพร่กระจายไปยังโปรโตคอลอื่นๆ เช่น เว็บ ฯลฯ
โดยภัยคุกคามอีเมล์ จำนวนมากเหล่านี้ทำให้องค์กรต้องมีต้นทุนในการจัดการ และความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้  
โซลูชั่นเทรนด์ ไมโคร อินเตอร์สแกน แมสเซจจิ้ง ซิเคียวริตี้(IMSS) ได้รวมการป้องกัน สแปมเมล์ และ ฟิชชิง พร้อมกับ
ตัวป้องกันสปายแวร์ และไวรัส การป้องกันอีเมล์นี้ครอบคลุมไปถึงการกรองเนื้อหาในตัวอีเมล์ด้วย และโซลูชั่นนี้
ยังสามารถป้องกันภัยคุกคามแบบลูกผสม และการโจมตีแบบมีเป้าหมายที่อีเมล์เกตเวย์ โซลูชั่นเทรนด์ ไมโคร อินเตอร์
สแกน แมสเซจจิ้ง ซิเคียวริตี้ จึงเป็นโซลูชั่นทีเข้ามาคอยควบคุมดูแลการรับส่งอีเมล์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะ
ทำงานร่วมกับโปรโตคอล Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และโปรโตคอล Post Office Protocol 3 (POP3)

รูปแบบการทำงานของเทรนด์ ไมโคร อินเตอร์สแกน แมสเซจจิ้ง ซิเคียวริตี้ ร่วมกับการรับส่งอีเมล์
  

                    
                                                                
                                                               รูปที่ 1 IMSS กับการรับส่งอีเมล์
   
ด้านเมล์ขาเข้าจากรูปสมมติเป็นระบบเมล์ขององค์กร Prism Solution และมีโดเมนที่ชื่อว่า prism.co.th ซึ่งกำหนดให้ IMSS เป็นตัว
รับเมล์ประจำโดเมน ดังนั้นเมื่อมีการส่งอีเมล์ถึงโดเมน prism.co.th ตัว smtp gateway ทางฝั่งผู้ส่งจะอาศัยข้อมูลจาก DNS
เพื่อให้ทราบว่าโฮสตัวไหนเป็นตัวรับเมล์ประจำโดเมน prism.co.th  ซึ่งก็คือ IMSS นั่นเอง ดังนั้นอีเมล์ก็จะถูกส่งจาก
SMTP Gateway ของผู้ส่งมายังเครื่อง IMSS หลังจากนั่น IMSS ก็จะดูว่าอีเมล์ที่ส่งมานี้ ส่งถึงโดเมนปลายทางที่ดูแล
อยู่หรือไม่ ถ้าใช่ IMSS ก็จะเก็บอีเมล์นี้ไปวิเคราะห์ต่อไป แต่ถ้าเกิดโดเมนปลายทางไม่ใช่โดเมนที่ดูแลอยู่โดยปกติแล้ว
IMSS ก็จะไม่นำอีเมล์ฉบับนี้มาวิเคราะห์และจะดีดอีเมล์นี้ทิ้งไปเมื่ออีเมล์ที่ผ่านการวิเคราะห์เรียบร้อย แล้วถ้าทุกอย่าง
ถูกต้องไม่ได้ฝ่าฝืนนโยบายต่างๆบน IMSS แล้ว อีเมล์ฉบับนี้ก็จะถูกส่งต่อไปยังเมล์เซอร์ฟเวอร์ และเมล์เซิร์ฟเวอร์ก็
จะจัดเก็บอีเมล์ฉบับนี้เข้ากล่องจดหมายของผู้รับปลายทางเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการรับอีเมล์ขาเข้า
ด้านเมล์ขาออกเมื่อต้องการส่งเมล์ออกข้างนอก หมายถึงส่งเมล์ไปยังโดเมนอื่นๆ ที่ไม่ใช่โดเมนของเราเอง  ขั้นแรกอีเมล์จะถูกส่ง
ออกมาจากอีเมล์ไคล์เอ็นต์ เช่น Outlook Express ไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์ จากนั่นเมล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะตรวจสอบดูว่าโดเมน
ปลายทางที่จะส่งนั้นเป็นโดเมนภายในด้วยกันหรือไม่ ถ้าใช่เมล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งอีเมล์นี้ไปเก็บยังกล่องจดหมายของ
ผู้ใช้ปลายทางที่อยู่ในโดเมนภายในทันที แต่ถ้าในกรณีที่ส่งหาโดเมนอื่นข้างนอก เมล์เซิร์ฟเวอร์จะต้องส่งต่ออีเมล์
ฉบับนี้ไปให้กับ IMSS เพื่อทำการวิเคราะห์ตามนโยบายที่กำหนดไว้ โดยกระบวนการส่งต่ออีเมล์จากเมล์เซิร์ฟเวอร์ไป
ยัง IMSS เรียกว่า การทำ Smarthost  เมื่อ IMSS รับอีเมล์มาวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ถ้าอีเมล์ฉบับนี้ถูกต้องตามนโยบาย
ที่กำหนดไว้  IMSS ก็จะอาศัยข้อมูลจาก DNS เพื่อให้ทราบว่าโฮสตัวไหนที่ทำหน้าที่รับเมล์ประจำโดเมนปลายทาง
จากนั่น IMSS ก็จะส่งอีเมล์ไปยังโฮสตัวนี้ทันที่เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งเมล์ออก แต่ในกรณีที่ IMSS ตรวจสอบ
แล้วอีเมล์ฉบับนี้มีการฝ่าฝืนนโยบายที่กำหนดไว้ IMSS ก็จะกระทำตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้  เช่น ลบอีเมล์นั้นทิ้งไป
จะติดตั้ง IMSS ลงในระบบเครือข่ายภายในองค์กรอย่างไรดีเมื่อคุณตัดสินใจที่ใช้ระบบ IMSS แล้ว สิ่งแรกที่คุณจะต้องปฏิบัตินั้นก็คือ คุณจะต้องติดตั้งระบบ IMSS ลงตรงตำแหน่ง
ไหนบนเครือข่ายของคุณดีล่ะ ซึ่งรูปแบบหลักๆ ในการติดตั้งระบบ IMSS ลงบนเครือข่ายมี 4 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่
1. ลักษณะที่มีการติดตั้งระบบ IMSS อยู่หน้าไฟล์วอลล์
                         
                                                            รูปที่ 2 ติดตั้ง IMSS อยู่หน้าไฟล์วอลล์
เมล์ขาเข้า• IMSS จะต้องเป็นเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่รอรับอีเมล์ที่ส่งเข้ามาในองค์กร หมายความว่า IMSS จะต้องทำหน้าที่ตัวรับเมล์
ประจำโดเมน ในระบบ DNS จะต้องมีการกำหนดเรคอร์ด MX ให้กับโฮสเนมของ IMSS เซิร์ฟเวอร์ ประจำโดเมนนั้นๆ
• ต้องมีการกำหนดให้ IMSS สามารถนำส่งเมล์ขาเข้าไปยังโดเมนปลายทาง เฉพาะโดเมนภายในองค์กรเท่านั้น
• ต้องมีการกำหนดนโยบายให้ไฟล์วอลล์ สามารถติดต่อสื่อสารอีเมล์ขาเข้าด้วย SMTP โปรโตคอลกับโฮส IMSS
เท่านั้น
เมล์ขาออก
• ต้องมีการกำหนดนโยบายให้ไฟวอลล์ สามารถนำส่งอีเมล์ขาออกด้วย SMTP โปรโตคอลไปยังโฮส IMSS เท่านั้น
• ต้องมีการกำนดให้ IMSS อนุญาตเฉพาะ SMTP เกตเวย์ ภายในเท่านั้นที่สามารถส่งเมล์ออกไปยังโดเมนอื่นๆ จาก
ภายนอกได้
2. ลักษณะที่มีการติดตั้ง IMSS อยู่หลังไฟล์วอลล์
                 
                                                        รูปที่ 3 ติดตั้ง IMSS อยู่หลังไฟล์วอลล์
 เมล์ขาเข้า• ต้องมีการกำหนดให้ไฟล์วอลล์ รับเมล์ขาเข้ามา แล้วต้องส่งต่อไปยัง IMSS เซิร์ฟเวอร์เท่านั้น
• สามารถกำหนดเรคอร์ด MX ภายใน DNS ให้กับ โฮส IMSS หรือไฟล์วอลล์ก็ได้
• กรณีที่เป็นเมล์ขาเข้า จะต้องกำหนดให้ IMSS นำส่งเมล์ไปยังโดเมนปลายทางที่เป็นโดเมนภายในเท่านั้น

เมล์ขาออก• ต้องมีการกำหนดที่ไฟล์วอลล์ ให้อนุญาตเฉพาะโฮสที่เป็น IMSS เท่านั้นที่สามารถใช้งาน SMTP โปรโตคอล กรณีที่
ต้องการส่งเมล์ออกไปยังโดเมนอื่นภายนอก
• ต้องมีการกำหนดให้ SMTP เกตเวย์ ส่งเมล์ต่อไปยังให้ IMSS เท่านั้นในกรณีที่ต้องการส่งเมล์ออกไปยังโดเมนอื่น
ภายนอก
• ต้องมีการกำหนดให้ IMSS สามารถนำส่งเมล์ขาออกให้เฉพาะโฮสที่เป็น SMTP เกตเวย์เท่านั้น
• ต้องมีการกำหนดไฟล์วอลล์เพื่ออนุญาตให้ IMSS สามารถใช้งาน DNS โปรโตคอลได้ เพื่อสามารถค้นหาโฮสที่หา
ตำแหน่งในการรับเมล์ประจำโดเมนอื่นได้
  
3. ลักษณะที่มีการติดตั้งติดตั้ง IMSS ลงในส่วนของ DMZ
   
                      
                                                   รูปที่ 4 ติดตั้ง IMSS ลงในส่วน DMZ
เมล์ขาเข้า• ต้องมีการกำหนดให้เมล์ขาเข้าต้องส่งมายัง IMSS ก่อนเสมอ
• ต้องกำหนดเรคอร์ด MX ภายในดีเอ็นเอสให้กับโฮสของ IMSS
• ในกรณีเมล์ขาเข้า  ต้องกำหนดให้ IMSS สามารถส่งเมล์ไปยังโดเมนปลายทางที่เป็นโดเมนภายในเท่านั้น

เมล์ขาออก
• ต้องกำหนดให้ไฟล์วอลล์ อนุญาตให้ IMSS สามารถใช้งานโปรโตคอล DNS เพื่อค้นหาโฮสที่ทำหน้ารับเมล์ประจำ
โดเมนอื่นภายนอกได้
• ต้องกำหนดให้ SMTP เกตเวย์ ภายในต้องส่งเมล์ไปให้ IMSS เสมอ เพื่อทำการตรวจอีเมล์ทุกครั้งก่อนที่จะนำส่งออก
ไปยังโดเมนอื่นภายนอก
• ต้องกำหนดให้ IMSS นำส่งเมล์ไปยังโดเมนอื่นภายนอก เฉพาะเมล์ที่มาจาก SMTP เกตเวย์ภายในเท่านั้น
4. ลักษณะที่มีการติดตั้ง IMSS ลงบนเครื่องเดียวกับ SMTP เกตเวย์
                   

                                       รูปที่ 5 ติดตั้ง IMSS ลงบนเครื่องเดียวกับ SMTP เกตเวย์
ข้อพิจารณา
• ต้องมีการกำหนดพอร์ตการใช้งานของ SMTP เกตเวย์ไปใช้งานพอร์ตอื่นที่ไม่ใช่พอร์ต 25
• IMSS จะต้องทำงานที่ SMTP พอร์ต 25 เสมอ
เมล์ขาเข้า
• ต้องมีการกำหนดให้ IMSS ส่งเมล์ไปยัง SMTP เกตเวย์ที่หมายเลขพอร์ตตัวใหม่ ที่ SMTP เกตเวย์ทำงานอยู่
เมล์ขาออก• กรณีที่เป็นเมล์ขาออก จะต้องส่งมาที่พอร์ตหมายเลข 25 ของ IMSS เสมอเพื่อทำการตรวจสอบทุกครั้ง  ก่อนที่จะ
ส่งออกไปยังโดเมนอื่นๆ
• ต้องกำหนดให้ IMSS ใช้งานโปรโตคอล DNS เพื่อค้นหาโฮสที่ทำหน้าที่รับเมล์ประจำโดเมนอื่นๆ ได้
มาถึงตรงนี้ทุกคนก็น่าจะเข้าใจการทำงานของระบบรักษาความปลอดภัย เทรนด์ ไมโคร อินเตอร์สแกน แมสเซจจิ้ง
ซิเคียวริตี้ และการว่างตำแหน่งของ โซลูชั่นเทรนด์ ไมโคร อินเตอร์สแกน แมสเซจจิ้ง ซิเคียวริตี้ ลงในระบบเครือข่าย
เดิมที่มีอยู่ในองค์กรของคุณได้แล้วนะครับ ในบทความต่อไปเรามาศึกษาการติดตั้งเจ้าตัว โซลูชั่นเทรนด์ ไมโคร
อินเตอร์สแกน แมสเซจจิ้ง ซิเคียวริตี้ กับ ระบบปฎิการที่เป็นลีนุกซ์กันครับ

ที่มา : www.prism.co.th
ในอดีตและปัจจุบันระบบโทรศัพท์แบบเดิมที่ใช้งานผ่านตู้สาขา (PBX) ซึ่งมีการส่งสัญญาณเสียง (Voice ) เป็นลักษณะของ
การส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายวงจรของชุมสายโทรศัพท์  (Circuit Switching)  ทำให้เกิดการใช้งานโครงข่ายได้ไม่เต็ม
ประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร เพราะวงจรหรือเส้นทางถูกกำหนดให้ผู้ใช้เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ว่าวงจรหรือเส้นทางนั้น ๆ
จะว่างอยู่ก็ตาม แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายสัญญาณข้อมูล (Data Network) ให้สามารถรองรับการส่งผ่าน
ข้อมูลได้หลากหลายมากขึ้นทำให้การใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching)  ได้รับความสนใจและถูกพัฒนา
เพื่อกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่นและ
คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจสวิตชิ่งนี้ได้ถูกนำมาพัฒนาใช้เป็น Voice Over IP Packet โดยการนำเทคโนโลยีสัญญาณเสียงนั้นมารวมอยู่บนระบบเครือข่ายสัญญาณข้อมูล (Data) และมีการรับ-ส่งสัญญาณทั้งคู่ได้ในเวลาเดียวกัน 
โดยเทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกนำมาให้บริการสื่อสารผ่านระบบ Internet ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่า

จะเป็น VoIP หรือ Voice over IP, Voice over Internet Protocol, Net Phone, Web Phone หรือ IP Telephony 
                               
Voice Over IP (VoIP) คืออะไร
การที่นำสัญญาณเสียง (Voice) มาผสมรวมเข้ากับสัญญาณข้อมูล (Data) เพื่อให้สามารถส่งผ่านไปบนระบบเครือข่ายด้วย
โปรโตคอลที่มีอยู่คือ Internet Protocol หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม IP ซึ่งโดยปกติจะใช้ IP ในการส่งสัญญาณข้อมูลเท่านั้น
แต่ด้วยเทคโนโลยี VoIP นี้ทำให้สามารถพัฒนาการสื่อสารผ่านสัญญาณเสียงให้สามารถสื่อสารผ่าน IP ได้ ซึ่งทำให้สามารถ
ใช้ Bandwidth บนเครือข่ายของ Network ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Multiservice Packet 
                          

IP Telephony standardInternet Telephony มี มาตรฐานหลัก คือ H.323 และ SIP (Session Initial Protocol) H.323 พัฒนาขึ้นโดยITU (Inter-
national Telecommunication Union) ส่วน SIP พัฒนาขึ้นโดย IETF (Internet Engineering Task Force) ทั้งสองมาตรฐาน
เป็นโปรโตคอลในชั้นแอพพลิเคชั่น (Application Layer) ใน OSI Model (Open Systems Interconnection)ตาม
มาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) โดยมีหน้าที่ในการเป็นผู้กำหนด Dial plan, Call Ad-ministration หรือกำหนด Security ใช้กำหนดการเชื่อมต่อและ Joining ระหว่างnetwork IP-to-IP gateway เพื่อใช้ใน
การเชื่อมต่อระหว่างองค์กรหรือหน่วยงาน
                         
SIP (Session Initiation Protocol) Standard  
เป็นมาตรฐานในการใช้งานเทคโนโลยี VoIP โดยได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบ IP โดยเฉพาะและเป็นมาตรฐาน
ในชั้น Application Layer Control Protocol สำหรับการเริ่มต้น (Creating) การปรับเปลี่ยน (Modifying) และการสิ้นสุด
(Terminating) ของ Session หรือ การติดต่อสื่อสารหนึ่งครั้ง ภายใต้การกำกับดูแลของ IETF: Internet Engineering
Task Force SIP server จะมีหน้าที่ในการ designed to address the functions ของ signaling และทำเรื่องของsession management ที่เกี่ยวกับ packet telephony network โดยทำหน้าที่เป็นผู้อนุญาต Call Informationข้ามเครือข่าย
network และ ยังทำในเรื่องของ Session management ระหว่าง end-to-end call
SIP Components
1. SIP Server

2. SIP Clients

                  
  
VoIP Technology
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ของเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ระบบ IP Telephony คือ ส่วนบริการและฟังก์ชันต่าง ๆ(Voice
services) ที่มีเหมือนกับการทำงานของ PBX แบบเดิมเช่นมีความสามารถในการทำ Call forwarding, Call blocking, Conference call, Call Routing, etc. ซึ่ง Feature ต่าง ๆ เหล่านี้ยังคงมีให้ใช้งานบนระบบ IP Telephony และยังรองรับ
ฟังก์ชันการทำงานของ Application server ต่างๆ เช่น voice mail , Gatekeeper,  Voice mail Server Call center
Server เป็นต้น อย่างไรก็ตามระบบเครือข่ายเสียงรูปแบบเดิมก็คงต้องมีและถูกใช้งานอยู่ ดังนั้นการพัฒนาไปสู่ระบบ IP Telephony นั้นจะต้องใช้เวลาพอสมควรและอาจจะต้องใช้งานทั้งสองระบบไปพร้อม ๆ กันหรือที่เรา
เรียกกันว่า Hibridge ซึ่งแนวทางของเทคโนโลยีในการใช้งานของระบบ VoIP แบ่งออกได้เป็น 3 ทางหลัก คือ
• การใช้เครือข่ายแบบVoIP เชื่อมต่อกับกับตู้ PABX ผ่านทาง E1 trunk หรือ Analog trunk โดยเชื่อมต่อกับVoice
interface ของบนอุปกรณ์ Router or Gateway และในกรณีที่มีการเชื่อมต่อเป็นลักษณะของ Multi site ก็สามารถเชื่อม
ต่อโดยผ่าน WAN Link ของ Router หรือ Gateway
      
• การพัฒนาระบบเครือข่าย PBX เดิมด้วยการเพิ่มเติม IP Interface ให้เป็น IP-enabled PBX เพื่อสามารถรับส่งสัญญาณ
เสียงเข้าไปใน IP network ได้ แนวทางของการพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้งานระบบ VoIP บนระบบเครือข่ายPBX จะมี
ประโยชน์มากกว่าคือ สามารถใช้งานระบบเครือข่ายเสียงได้ และฟังก์ชันที่มีประโยชน์ต่าง ๆมากมายบน PBX ก็ยังคง
ทำงานได้เป็นปรกติ โดยระบบ PBX จะมองเครือข่าย IP เป็นเพียงเส้นทางรับส่งสัญญาณทางหนึ่งเท่านั้นมีส่วนติดต่อกับ
ผู้ใช้งาน (User Interface) ที่เหมือนกับระบบเครือข่าย PBX เดิม ซึ่งผู้ใช้มีความคุ้นเคยดีอยู่แล้วและไม่ต้องเรียนรู้การ
ใช้งานใหม่ ซึ่งระบบ IP-enabled PBX สามารถรับประกันคุณภาพของสัญญาณเสียงได้ และสามารถเชื่อมต่อกับ
Voice gateway ต่างๆ ในกรณีทีมีการ เชื่อมต่อระหว่าง office โดยสามารถส่งข้อมูลเสียงออกไปทาง Leased line,
ISDN, ADSL หรือ Frame relay เป็นต้น
 • การใช้งานเต็มรูปแบบของ IP Telephony โดยใช้อุปกรณ์เช่น Call Control Server, Voice-mail server,
Contract Center server, Router/Gateway, และ IP Phone เหล่านี้ทำงานแทน PBX แบบเดิม โดยใช้การเชื่อมต่อผ่าน
Network cable IP Telephony PBX Architecture
     
  

BASIC Element of IP Telephony
        
รูปแบบของการติดตั้ง
1. Software Client 
หรือ IP Telephony อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งโปรแกรมสื่อสารไอพีหรือ
อุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาสำหรับการใช้งานโทรศัพท์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะหรือเครื่องโทรศัพท์
แบบไอพี (IP Phone)
                    
2. Telephony Applications เป็น Server ที่ติดตั้ง Application ที่ใช้งานควบคู่กับระบบโทรศัพท์ Call processorแบบ IP
เช่น Application ที่ทำงานเกี่ยวกับด้าน Voice mail, Fax server หรือ ทางด้าน Contact center ให้กับระบบเครือข่าย IP Telephony และสามารถนำมาผสมผสานการใช้งานร่วมกันได้ซึ่งตัวอย่างของ Application เหล่านี้ มีดังนี้
• Unified Messaging เป็น Application ที่รวมการทำงานของ Voice mail, Email และ Fax mail เข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการใช้งานของ User 

• Call Center เป็น Application ที่เป็นศูนย์กลาง ให้บริการข้อมูลต่าง ๆเพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการทราบข้อมูลติดต่อเข้ามา
หรือเพื่ออำนวยความสะดวกการให้บริการอื่นๆ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดจะเก็บ Call Detail Record (CDR) ต่าง ๆ ไว้เช่น ระยะเวลา
ของการสนทนา, Record การสนทนา, Queue ที่รอการ Monitor สายของ Extension ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อที่จะนำ
ข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาหน่วยงานหรือพัฒนาการให้บริการต่อไปในอนาคต
• Interactive Voice Response (IVR) ในขณะที่ผู้ใช้งานทั่วไปต้องการทำรายการต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์ เช่น
Phone-Banking ซึ่งในขณะที่ผู้ใช้รอสายนั้น IVR นี้ จะทำการแจ้ง Promotion หรือ Information ต่าง ๆ ให้กับผู้รอสายทราบ
ซึ่งข้อมูลต่างๆ นั้นสามารถกำหนด และเปลี่ยนแปลงได้ และทำการบันทึกไปยัง Application ของระบบ

• Fax Server โดยเป็น Application การรับส่ง email-to-fax and fax-to-email fax server ซึ่งจะคอยจัดการส่ง,รับ และจัดการเครือข่ายของคุณโดยสามารถใช้งานร่วมกับระบบ Call Processor , e-mail หรือ voice mail ที่มีอยู่ได้
3. VoIP Gateway เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นข้อมูลเสียงที่สามารถวิ่งอยู่บนเครือข่ายข้อมูล
แบบ IP ได้ซึ่งเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องโทรศัพท์ตู้ชุมสายโทรศัพท์กับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่าง
เครือข่ายไอพีซึ่งการจะใช้งานระบบโทรศัพท์ไอพีต้องอาศัยอุปกรณ์นี้เป็นตัวกลางก่อนโดยสามารถแบ่งชนิดของgateway
ได้คือ

• IP-enabled on PBX 
เป็น PBX ที่ใช้รับส่งข้อมูลเสียงผ่านเครือข่าย IP network และ Analog telephone ซึ่งgateway
แบบนี้ใช้คุณลักษณะเดิมของระบบ PBX แต่อาจเพิ่ม Modules หรือ Software ที่ใช้ควบคุม IP Phone hardwareได้
ซึ่งยังมีความสามารถ ในเรื่องการทำงานของ PBX ไว้ดังเดิม เช่น การทำ Call routing, Trunk selection, และอื่นๆ อีกบน
ระบบเครือข่าย IP PBX
• Telephony router or PSTN Gateway  หรืออุปกรณ์ Switching เป็น gateway เพื่อเชื่อมต่อกับ PSTN หรือPublic
Telephone network ซึ่งอุปกรณ์ประเภทนี้มีความสามารถการบริหาร priority packet และจัดสรร Bandwidth ให้กับข้อมูล
ทั่วไปและข้อมูลเสียงจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ เช่น การทำ QoS RSVP, Weight Fair Queuing เป็นต้น 
ซึ่งทำให้คุณภายของเสียงที่ได้รับฟังดีขึ้น
Router/Gateway installation software voice feature
                     
4. Call Processor เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีการติดตั้ง Software ที่ทำงานในลักษณะเดียวกับ PBX เชื่อมต่อเข้ากับระบบ Network ใช้ Control การทำงานเช่น การกำหนด Call Routing, การกำหนด Extension number, การกำหนด Class of
Service (CoS) และกำหนด Feature ต่างๆ บนหัวโทรศัพท์ เช่น Call pickup, Call park, Conference Callหมายเลข
โทรศัพท์ และบอกทิศทาง (Route Pattern) ที่ถูกต้องในการที่จะติดต่อกันระหว่างหมายเลขหนึ่งไปอีกหมายเลขหนึ่ง และ
เป็นตัวกลางที่ใช้บริหารจัดการและควบคุมการให้บริการของ Router หรือ Gateway กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟท์แวร์สำหรับใช้งาน VoIP หรือเครื่องโทรศัพท์แบบไอพี
5. Network  Infrastructures  หมายถึง อุปกรณ์ Switch หรือ Hub ทีใช้ connect  ไปยัง IP Telephone หรือ PCที่ใช้ใน
หน่วยงาน โดยมีเชื่อมโยงด้วยสายใยแก้วนำแสง (Fiber oftic) หรือ UTP Cable และมีการเชื่อมโยงภายในของแต่ละอาคาร
ซึ่งมีทั้งชนิดสายสื่อสารและชนิดไร้สาย (Wireless) ซึ่งในปัจจุบัน อุปกรณ์ Switch ยังสามารถจ่ายไฟฟ้า Power Over    
Ethernet (PoE) ให้ Devices ต่าง ๆ โดยต้องเช็คว่า อุปกรณ์ที่จะมาเชื่อมต่อ Support PoE (มาตรฐาน 802.3af )หรือไม่
ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์เพราะไม่ต้องทำการต่อสายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์เหล่านั้น
ข้อดีของการนำเทคโนโลยี VoIP  หรือ IP Telephony มาใช้งาน
1. Cost Savings: 
การนำเทคโนโลยี VoIP มาใช้งานนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่มี
อยู่แล้ว เช่น อุปกรณ์ Router หรือ Switch ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้เนื่องจากสามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมมา
ใช้งานได้ และถ้าหากมีการนำเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งานในลักษณะการสื่อสารระยะทางไกล เช่น ต่างจังหวัด
หรือต่างประเทศก็จะทำให้สามารถประหยัดค่าบริการทางไกลของระบบโทรศัพท์แบบปกติได้อีกด้วย

2. Increase Productivity: 
การนำเทคโนโลยี VoIP มาใช้งานนั้นสามารถนำอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอยู่แล้ว เช่น อุปกรณ์
Router, Switch หรือแม้กระทั่งตู้ PBX นำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกันให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่เดิมซึ่งถือเป็น
การนำอุปกรณ์เดิมมาใช้ประโยชน์ให้สูงสุดด้วย

3. Improved Level of Services: สำหรับองค์กรที่นำเทคโนโลยี VoIP ไปใช้งานเพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสาขา
ที่อยู่ในระยะทางไกลกันนั้นจะทำให้องค์กรได้ประโยชน์ในแง่ของข้อมูลข่าวสารต่างๆ ระหว่างองค์กรมากยิ่งขึ้นเนื่องจาก
มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข่าวสารกันระหว่างสาขาขององค์กรมากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายของการ
สื่อสารทางไกลอีกต่อไปทำให้แต่ละสาขาได้รับข่าวสารข้อมูลล่าสุดขององค์กรอย่างทันท่วงที และไม่ต้องมีการรอ
ซึ่งอาจนำมาซึ่งการล่าช้าในการปฏิบัติงานและการบริการ

4. Reduce Operating Expenses: 
การนำ VoIP มาใช้งานนั้นทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ได้อย่างที่อาจจะ
ไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านค่าบริการโทรศัพท์ทางไกลซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีการนำเทคโนโลยีVoIP นี้มา
ใช้งานหรือรวมทั้งการที่สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรที่จะมาดูแลในเรื่องของการให้บริการทางโทรศัพท์ได้อีกด้วย
เพราะสามารถใช้แค่คนคนเดียวเพื่อให้บริการลูกค้าผ่านระบบโทรศัพท์กลางขององค์กรและเชื่อมต่อไปยังสาขาต่างๆด้วยเทคโนโลยี VoIP
การนำมาประยุกต์ใช้ VoIP หรือ IP Telephony ในองค์กร
สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี VoIP นั้น จริงๆ แล้วทุกๆองค์กรสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้งานได้ แต่สำหรับ
กลุ่มเป้าหมายที่น่าจะได้รับประโยชน์จากการนำเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งานได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ
SME (Small/Medium Enterprise) และกลุ่ม ISP (Internet Service Provider) ต่าง
สำหรับกลุ่มธุรกิจ SME อาจจะต้องเป็นกลุ่มที่มีระบบเครือข่ายข้อมูลของตนเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายLeased Line, Frame Relay, ISDN หรือแม้กระทั่งเครือข่าย E1/T1 ก็ตามรวมถึงมีระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในการใช้งานด้วย การนำ
เทคโนโลยี VoIP มาใช้งานนั้น จะทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างจังหวัด
หรือรวมถึงค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศด้วยถ้าหากองค์กรนั้นมีสาขาอยู่ในต่างประเทศด้วยแต่การที่องค์กรใดจะนำ
เทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งานนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนของ User หรือขนาดขององค์กร ที่ใช้งานระบบโทรศัพท์
ด้วยว่ามีการใช้งานมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่าแก่การลงทุนในการพัฒนานำเทคโนโลยี VoIP มาใช้หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบัน
อุปกรณ์ทางด้าน IP Telephony นั้นเริ่มมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้กับ Office ขนาดกลางและขนาดเล็กอีกด้วย ทำให้ราคา
หรือใช้จ่ายในการลงทุนนั้นต่ำลง รูปแบบของการติดตั้งระบบ IP Telephony กับกลุ่มธุรกิจ SME 
     
สำหรับกลุ่มธุรกิจ ISP นั้นสามารถที่จะนำเทคโนโลยี VoIP นี้มาประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในธุรกิจของตนเอง
มากยิ่งขึ้น โดยทาง ISP ต่างๆ นั้นสามารถให้บริการ VoIP เพื่อเป็นบริการเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากการให้บริการระบบ
เครือข่าย Internet แบบปกติธรรมดา หรือที่เรียกว่า Value Added Services ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความแตกต่างและ
เพิ่มทางเลือกในการให้บริการกับกลุ่มลูกค้าด้วย
  
บทสรุป
ในปัจจุบันการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียงหรือโครงข่ายชุมสายโทรศัพท์ (PSTN) มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อน
ข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตมากขึ้นอันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และ
นับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้พัฒนามาจนกระทั่งระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP) ได้กลายเป็นทางเลือกใหม่
ให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งมีแนวโน้มจะเข้ามามีส่วนแบ่งของตลาดในอนาคตโดยจุดแข็งอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ราคา
ค่าบริการที่จะต่ำกว่า เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ทางไกลหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับค่าบริการทางไกลต่างประเทศ และ
การยืดหยุ่นของการ Implement หรือการนำไป Integrate กับ Application ต่างที่เกิดขึ้น ดังนั้นถึงเวลาหรือยังที่เราควร
เปลี่ยนมาใช้ระบบ IP Telephony